1687 จำนวนผู้เข้าชม |
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 กษัตริย์ผู้ครองราชย์ยาวนานและเป็นที่รักของประชาชนสหราชอาณาจักรและทั่วทั้งโลก เสด็จสวรรคตที่ปราสาทบัลมอรัล บ้านที่พระองค์รักในสกอตแลนด์ ด้วยพระชนมมายุ 96 พรรษา ทรงครองราชย์ยาวนาน 70 ปี ภายหลังเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระพระสวามีที่ทรงครองคู่กันตลอดระยะเวลา 74 ปี ได้สิ้นพระชนม์ในปี 2021 ขณะมีพระชนมายุ 99 พรรษา พระองค์ทรงตรัสถึงพระราชสวามีด้วยความรักว่า "เป็นดั่งขุมพลังแข็งแกร่งที่ช่วยให้ข้าพเจ้ายืนหยัดอยู่ได้"
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สอง ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจสำคัญ ซึ่งเชื่อมโยงกับเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ของสหราชอาณาจักรและของโลกหลายครั้ง พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทย 2 ครั้ง เมื่อวันที่ที่ 9-15 กุมภาพันธ์ 2515 และในวันที่ 28 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน 2539 เนื่องในโอกาสปีกาญจนาภิเษก ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี.
ขอบคุณภาพจากไทยรัฐออนไลน์
พระราชพิธีทั้ง 2 แห่งการจากไป สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญที่ส่งผ่านความรู้สึกได้อย่างลึกซึ้ง “พวงหรีด” ที่จัดอยางสวยงามจัดวางบนหีบพระศพได้เป็นตัวแทนความรู้สึกรักและอาลัยต่อทั้ง 2 พระองค์ได้อย่างลึกซึ้งกินใจอย่างที่สุด นิตยสารแพรวได้นำความหมายของดอกไม้ที่นำมาจัดพวงหรีดบนหีบพระศพ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ตัว ที่จัดด้วยดอกไม้ที่ปลูกในปราสาทบัลมอรัล แทนความรักของพระองค์ต่อบ้านที่ทรงรักแห่งนี้ ที่ที่เต็มไปด้วยความทรงจำ ความรักและความผูกพันของพระองค์และพระสวามี บ้านที่เป็นสถานที่สุดท้ายที่พระองค์จากไปอย่างไม่มีวันกลับ
พวงหรีดแห่งการส่งเสด็จการเดินทางครั้งสุดท้ายที่จะไม่กลับมาที่นี่อีกแล้ว พวงหรีดดอกไม้สดสีขาวเขียวจัดขึ้นด้วยดอกไม้ในปราสาทบัลมอรัล ประกอบด้วย กิ่งสน ( pine branches) ดอกดาเรีย (Dahlia) หรือดอกรักเร่ ซึ่งเป็นดอกไม้ทรงโปรดและตัวแทนความผูกพันของพระองค์และพระสวามี ดอกสวีทพี (Sweet Pea) หรือดอกจากต้นถั่วลันเตาซึ่งมีความหมายถึงการจากลา ดอกฟอกซ์ ( ดอกไม้ประจำเดือนเกิดของพระองค์และ ดอกเฮเธอร์ (Heather) หมายถึงการป้องป้องและโชคดี
เมื่อพระศพของควีนเดินทางถึงตำหนักวินด์เซอร์ ขบวนอัญเชิญหีบพระศพจะประดับด้วยผ้าพระอิสริยยศ มงกุฎอิมพีเรียลสเตตบนเบาะกำมะหยี่ พวงหรีดดอกไม้จะประกอบด้วยกุหลาบขาว ดอกดาห์เลียขาว และใบไม้ที่จากที่ประทับของควีนที่ตำหนักแบลมอรัลและตำหนักวินด์เซอร์
ในพิธีพระศพเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระพระสวามีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พวงมาลาหลวงจากดยุกและดัสเชสแห่งซัสเซกซ์ ของทั้งสองพระองค์ประกอบไปด้วยดอกระฆังแคนเตอร์บรีแสดงให้เห็นถึงการถวายความจงรักภักดี และความรักที่ไม่มีที่สิ้นสุด ส่วนโรสแมรีแสดงให้เห็นถึงการรำลึก ดอกลาเวนเดอร์แสดงให้เห็นถึงการอุทิศพระองค์ และดอกกุหลาบแสดงให้เห็นถึงความหมายถึงเดือนพระราชสมภพหรือเดือนมิถุนายน
ขอบคุณภาพจาก The Standard
ในพระราชพิธีนี้ สื่อยังได้รายงานถึง ข้อความ 4 คำที่ปรากฎบนพวงมาลาหลวง หรือ พวงหรีด ของพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งอังกฤษว่า “ในความทรงจำอันเป็นที่รัก , เอลิซาเบธ” (In loving memory, Elizabeth) ซึ่งวางบนหีบพระศพของเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ
ปิติในใจทำ..พวงมาลาถวาย ในหลวงรัชกาลที่ 9
หรีดพวงแรก... ณภัทร เจียรานุชาติ
งานพระบรมศพ ในหลวง รัชกาลที่ 9 เมื่อสำนักงาน กสทช.ได้รับพระบรมราชนุญาตเป็นเจ้าภาพ เป็นงานจิตอาสาให้จัดทำพวงมาลาเพื่อทูลเกล้าถวาย ตั้ง concept ให้สวยและสื่อความหมายตรงถึงพระองค์ท่าน เลยนึกถึงดอกไม้ประดิษฐ์โครงการหลวงดอกไม้จากผ้าไหมที่ทรงพระราชทานอาชีพให้ชาวบ้าน และรวงข้าวทรงพระราชทานให้คนไทยพออยู่พอกิน จากนั้นก็มา drawing ร่างชิ้นงานเป็นวงรี พอนำเสนอก็ได้รับอนุมติ ดอกไม้ไปซื้อที่ร้านโครงการหลวงในตลาด อตก. ในวังสวนจิตร วันที่ได้เข้าไปทูลเกล้าถวายพวงหรีดได้ทำหน้าที่อย่างสวยงาม ความอิ่มใจที่ได้ทำดอกไม้ถวายพระองค์ท่านยังคงอยู๋ในใจตลอดมา
ที่มาของพวงหรีด
“พวงหรีด” หรือ Wreath พวงดอกไม้แสดงความเคารพในวาระแห่งการจากกันอันเป็นนิรันดร์ ดอกไม้ที่จัดตามโครงรูปต่าง ๆ ในวัฒนธรรมตะวันตกใช้พวงหรีดทั้งในงานมงคลและอวมงคล เช่น ในเทศกาลคริสต์มาส ถือเป็นเทศกาลที่เปลี่ยน “พวงหรีด” ตามความเชื่อศาสนาว่า วงกลมแห่งความสมบูรณ์อันศักดิ์สิทธิ์และพระเจ้าที่ทรงเป็นนิรันดร์ ดอกไม้ ใบไม้ และของตกแต่ง เช่น ถั่ว ลูกสน หมายถึง ความยั่งยืนของชีวิตและเป็นสัญลักษณ์การฟื้นคืนชีวิต
พวงหรีดในวัฒนธรรมตะวันตกก็มีการใช้เป็นสิ่งแสดงความเคารพ อาลัยแด่ผู้จากไป เดิมทีใช้พวงหรีดแห้งที่จัดแต่งดอกไม้ใบไม้จากกระดาษและประดับด้วยริบบิ้น และได้พัฒนาเป็นดอกไม้สดในภายหลัง
การส่งพวงหรีดของบ้านเรา
มีผู้ศึกษาและค้นพบประวัติไว้ดังนี้ รุจิราภา งามสระคู พบว่า บ้านเรานำมาใช้เฉพาะงานอวมงคลเพื่อแสดงความไว้อาลัยและสักการะรูปปั้นผู้ล่วงลับ หรีดพวงแรก เอนก นาวิกมูล สันนิษฐานว่า มีขึ้นในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 สมบัติ พลายน้อย ให้ข้อมูลว่าเพื่อแทนที่การนำดอกไม้ ธูป เทียน เป็นเครื่องสักการะศพ ในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2453 พบภาพพวงหรีดเป็นเครื่องสักการะพระบรมศพแขวนไว้บริเวณด้านซ้ายขวาของพระบรมโกศ กระดาษคาดทับพวงหรีดวัฒนธรรมตะวันตกจะมีกระดาษแผ่นเล็ก ๆ หรืออาจเป็นนามบัตรเพื่อให้เจ้าภาพรู้ข้อมูลชื่อผู้ส่งและจะได้ตอบขอบคุณ สันนิษฐานว่าได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นกระดาษคาดทับพวกหรีดในปัจจุบัน ซึ่งมักเป็นเขียนคำไว้อาลัยหรือเขียนชื่อเจ้าของพวกหรีด
เมื่อวัฒนธรรมพวงหรีดแพร่หลายสู่งานของสามัญชนซึ่งไม่ยาวนานเหมือนของชนชั้นสูง ประกอบกับพันธุ์ดอกไม้หลากหลายมากขึ้น จึงมีความนิยมใช้พวงหรีดดอกไม้สดเพราะสวยงามและให้ความสดชื่นมากกว่า ต่อมาได้มีการนำเหลือใช้ สิ่งของที่เป็นประโยชน์ เช่น พัดลม เป็นต้น วัฒนธรรมพวงหรีดมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
พวงหรีด วงดอกไม้แห่งความอาลัยรักอันเป็นนิรันดร์
2-3 ปีที่ผ่านมาช่วงสถานการณ์โควิทไปนำพาบุคคลอันเป็นที่รักจากไปเป็นจำนวนมาก จนทำให้อัตราการเสียชีวิตสูงกว่าอัตราการเกิด น้ำใจและความรู้สึกร่วมทุกข์ร่วมสุขช่วยให้ร้านดอกไม้ได้รับออร์เดอร์พวงหรีด จนอาจกล่าวได้ว่าหลายร้านดอกไม้ และผู้คนที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่การผลิตพวงหรีดจนถึงชาวสวนดอกไม้ มีรายได้ผ่านช่วงเวลานี้ด้วยงานพวงหรีด คำพูดแม่ค้ารายใหญ่ในปากคลองตลาดที่ว่า “แม้ไม่มีออร์เดอร์ก็ต้องรับดอกไม้จากสวนลงมาขาย ช่วย ๆ กันไป ขนไปทิ้งมากกว่าขายได้ ขอบใจนะที่มาช่วยซื้อ ใส่ให้ลูกค้าไปมาก ๆ เลยป้าให้เพิ่ม งานหรีดจะได้สวยสดใสด้วยดอกไม้”
ช่วงเวลาแห่งชีวิตความรู้สึกร่วมทุกข์ร่วมสุขแบบไทย ๆ ยังคงปลอบประโลมใจให้ผ่านช่วงเวลาความทุกข์แห่งสัจจธรรมการจากลา ดอกไม้ของขวัญจากธรรมชาติความสดใสสวยงามยังคงทำหน้าที่อย่างคู่ควรมิตรภาพและกำลังใจอันสำคัญยิ่งนี้
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.silpa-mag.com/history/article_45460
https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2495810